ตังกุย มีถิ่นกำเนิดจากประเทศจีน โดยเฉพาะมณฑล ส่านซี มณฑลยูนาน และใต้หวัน เหมาะกับสภาพอากาศชื้น เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนยาว รากของตังกุยคือส่วนที่จะนำเอาไปใช้เป็นยา ดังนั้นหากจะได้รากตังกุยที่ดี ก็จำเป็นต้องปลูกในสภาพอากาศที่มีความชื้นเหมาะสม มีดินที่อุ้มน้ำ และได้รับแสงรำไร มักจะพบตังกุยได้จากป่าดิบเขา และแหล่งเพาะปลูกตามภูเขาสูง
ประโยชน์และสรรพคุณตังกุย
- เป็นยาขับระดู แก้รกตีขึ้น ขับรกและแก้ไข้ในเรือนไฟ
- แก้ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ
- แก้ตกมูกเลือด และสตรีประจำเดือนมาไม่ปกติ
- แก้สะอึก แก้ไอ
- ช่วยรักษาสมดุลของการไหลเวียนโลหิตในผู้หญิง
- ช่วยให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
- แก้ปวดประจำเดือน
- ช่วยบรรเทาอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว
- เป็นยาระบายท้องอ่อนๆ
- ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต
- แก้หืดไอ แก้หอบ
- แก้ริดสีดวงจมูก คอ และตา
- ยับยั้งเนื้องอกในมดลูก รังไข่
- รักษาอาการวูบวาบใน “ผู้หญิง”
ในตำรับยาจีนมักผสมตังกุยกับ หัวแห้วหมู (cyperusrotundas), โกฐจุฬาลำเภาจีน (Artemisiaargyi), เปลือกลูกพรุน ( Prunes persica) และดอกคำฝอย (carthamus tinctorius) เพื่อใช้รักษาอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ในสตรีหลังคลอดจะช่วยขับน้ำคาวปลา ทำให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น โกฐเชียงเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ พืชชนิดนี้ปลูกมากในประเทศจีน โดยเฉพาะในป่าดิบตามภูเขาสูงของมณฑลไต้หวัน มณฑลส่านซี และมณฑลยูนนาน และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทย ที่เรียกว่า “พิกัดโกฐ” โกฐเชียงจัดอยู่ใน โกฐทั้งห้า(เบญจโกฐ) สรรพคุณโดยรวม ของยาที่ใช้ในพิกัดโกฐ คือ แก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้ลมในกองธาตุ ชูกำลัง ขับลม แก้สะอึก บำรุงเลือด บำรุงกระดูก